ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Pepper [3]
Pepper [3]
Piper sarmentosum Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Piperaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.
 
  ชื่อไทย ช้าพลู
 
  ชื่อท้องถิ่น กุ่ยแหย่เหละ(กะเหรี่ยงแดง), ผักเปี้ยง,ด่อยุก้า(ปะหล่อง), บ่ะแค(ลั้วะ), พูลิง(ขมุ), ปูลิง(คนเมือง), แค(เมี่ยน), บะโซะโละ(ลั้วะ), ผักแค(ไทลื้อ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ต้นเล็ก ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นจะเป็นข้อ ๆ
ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายใบพลูขนาดย่อม ใบจะเป็นสีเขียวแก่และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ใบใช้กินเป็นผักได้
ดอก ลักษณะดอกจะออกยาวเป็นปุ่ม ๆ คล้ายกับดอกดีปลี แต่จะสั้นกว่า
อื่น ๆ : ชะพลูมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดนี้เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะลำต้น ใบ ดอก และรสก็มีลักษณะเดียวกัน แต่จะผิดกันตรงที่ลำต้นเป็นเถาเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติในทางยาก็ใช้อย่างเดียวกันชนิดเถานี้เรียกกันว่า ชะพลูเถา (ไทยภาคกลาง) ปูริงนก ผักปูริง ผักปูลิง ผักอีเลิด (ภาคเหนือ)[1]
เป็นพืชล้มลุกแบบเลื้อย (climbing herb) มีกลิ่นหอม ต้นสูงประมาณ 60 ซม. ลำต้นตั้งตรงสัเขียวมีรากงอกตามข้อ (node) แตกหน่อใหม่ตรงข้อ
ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ (alternate) รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ (cordate) เส้นใบชัดเจน 5-7 เส้น ปลายใบแหลม ผิวใบไม่เรียบขนาด 3-4.5 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบใหญ่มีขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 17 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม. ต้นและใบมีรสเผ็ดและกลิ่นฉุนเล็กน้อย
ดอกเป็นดอกช่อไม่มีก้านดอกย่อยอัดแน่น (หยรำ) ช่อดอกสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ (stamen) 1-10 อันส่วนใหญ่พบ 2 อัน รังไข่ (ovary) 1 ผล (fruit)
ผล เป็นผลรวม (multiple fruit) แบบเบอร์รี่ (berry) รูปทรงกระบอก เมล็ดขนาดเล็ก [3]
 
  ใบ ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายใบพลูขนาดย่อม ใบจะเป็นสีเขียวแก่และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ใบใช้กินเป็นผักได้

ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ (alternate) รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ (cordate) เส้นใบชัดเจน 5-7 เส้น ปลายใบแหลม ผิวใบไม่เรียบขนาด 3-4.5 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบใหญ่มีขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 17 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม. ต้นและใบมีรสเผ็ดและกลิ่นฉุนเล็กน้อย
 
  ดอก ดอก ลักษณะดอกจะออกยาวเป็นปุ่ม ๆ คล้ายกับดอกดีปลี แต่จะสั้นกว่า
ดอกเป็นดอกช่อไม่มีก้านดอกย่อยอัดแน่น (หยรำ) ช่อดอกสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ (stamen) 1-10 อันส่วนใหญ่พบ 2 อัน รังไข่ (ovary) 1 ผล (fruit)
 
  ผล ผล เป็นผลรวม (multiple fruit) แบบเบอร์รี่ (berry) รูปทรงกระบอก เมล็ดขนาดเล็ก [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ รับประทานสดกับส้มตำ(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใส่แกง(ปะหล่อง)
ใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(คนเมือง)
ใบ รับประทานสดกับลาบหรือใช้ประกอบอาหาร เช่นใส่ แกงหน่อไม้(เมี่ยน)
ใบ ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารพื้นเมือง เช่น แกงแค(ไทลื้อ,ลั้วะ)
ใบ นำไปประกอบอาหารเช่น ใส่แกงแค หรือรับประทานกับตำมะม่วง(ขมุ)
- ต้นและราก ตากแห้งนำมาตำแล้วต้มกินรักษาโรคกระเพาะ(กะเหรี่ยงแดง)
- ต้น ใช้เป็นยารักษาเสมหะในทรวงอก
ใบ ทำให้เสมหะงวดแห้งและช่วยเจริญอาหาร
ราก ใช้รักษาดูดเสมหะ คือ ใช้ขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ นอกจากนี้รากยังใช้ปรุงเป็นยารักษาธาตุพิการ และธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุ[1]
- สรรพคุณความเชื่อ
ราก รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ท้องเสีย ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก เจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น
ต้น รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะทำให้เสมหะแห้ง แก้ปวดท้องแน่นจุกเสีด แก้ไข้ ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี รักษาโรคบิด
ใบ รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน แก้ธาตุพิการ เบาหวาน
ดอก รสเผ็ดร้อน แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
ผล รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเสมหะ ย่อยอาหาร
ทั้งต้น รสเผ็ดเล็กน้อย ขับเสมหะ แก้ปัสสาวะบ่อย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงน้ำดี แก้ธาตุพิการ [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในดินร่วนที่มีความชื้นสูง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง